วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ไม้ไผ่

ไม่ไผ่ เป็นไม้ที่ขึ้นง่ายและเติบโตเร็ว ขึ้นได้ดีในทุกสภาวะอากาศดำรงอยู่ได้ในพื้นดินทุกชนิด ที่สำคัญคือ ไผ่เป็นพันธุ์ไม้ที่อำนวยประโยชน์หลายประการ ทั้งประโยชน์ทางตรงและทางอ้อม และเป็นพืชที่ลำต้นกิ่งมีลักษณะแปลกสวยงาม ไผ่เป็นไม้ที่ตายยาก ถ้าไผ่ออกดอกเมื่อใดจึงจะตาย แต่ก็ยากมากและนานมากที่ไผ่จะออกดอก ไม้ไผ่มีประโยชน์มากกับคนเราคนเราสามารถนำไม้ไผ่มาสร้างบ้านที่อยู่อาศัย และทำเครื่องจักสานอื่นๆอีกมากมายสำหรับไม่ไผ่นั้นใช้ได้ทุกส่วนตั้งแต่ หน่อ ลำต้น ใบ ราก เยื่อไผ่ ขุยไผ่ มีประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวัน ในปัจจุบันเราสามารถนำไม้ไผ่มาจักรสานทำเป็นอาชีพหารายได้ให้แก่ครอบครัว และยังเป็นงานที่เราส่งออกไปขายอยู่นอกประเทศสำหรับคนไทยเราแล้ว งานที่ใช้ฝีมือถือว่าเป็นงานที่ประณีตระเอียดและสวยงามมาก

ประโยชน์ของไม้ไผ่

ประโยชน์ของไม้ไผ่
  ไม้ไผ่ลำเล็กๆที่คนไทยรู้จักเป็นอย่างดีนั้น ประโยชน์ใช้สอยมากมายมหาศาลอย่างที่คนหลายคนคาดไม่ถึง ซึ่งเมื่อแบ่งออกเป็นหมวดหมู่และแยกออกเป็นประเภทๆแล้ว มนุษย์เราสามารถใช้ไม้ไผ่มาทำเป็นประโยชน์ได้ดังนี้
1.ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ
-ป้องกันการพังทลายของดินตามริมฝั่ง
-ช่วยเป็นแนวป้องกันลมพายุ
-ชะลอความเร็วของกระแสนำป่าเมื่อฤดูนำหลากกันภาวะน้ำท่วมฉับพลัน
-ให้ความร่มรื่น
-ใช้ประดับสวน จัดแต่งเป็นมุมพักผ่อนหยอนใจในบ้านเรือน
2.ประโยชน์จากลักษณะทางฟิสิกส์
จากความแข็งแรง ความเหนียว การยืดหด ความโค้งงอและการสปริงตัว ซึ่งเป็นคุณลักษณะประจำตัวของไม้ผ่ เราสามารถนำมันมาใช้เป็นวัสดุเสริมในงานคอนกรีต และเป็นส่วนต่างๆ ของการสร้างที่อยู่อาศัยแบบประหยัดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
3.ประโยชน์จากลักษณะทางเคมีของไม้ไผ่
-เนื้อไม้ใช้บดเป็นเยื่อกระดาษ
-เส้นใยใช้ทำไหมเทียม
-เนื้อไผ่บางชนิดสามารถสกัดทำยารักษาโรคได้
-ใช้ในงานอุตสาหกรรมนานาชนิด
4.การใช้ไม้ไผ่ในผลิตภัณฑ์หัตถกรรมและอุตสาหกรรม แบ่งออกได้ดังนี้
-ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานจากเส้นตอก ได้แก่ กระจาด กระบุง กระด้ง กระเช้าผลไม้ ตะกร้าจ่ายตลาด ชะลอม ตะกร้าใส่ขยะ กระเป๋าถือสตรี เข่งใส่ขยะ
-เครืองมือจับสัตว์น้ำ เช่น ข้องใส่ปลา ลอบ ไซ ฯลฯ
-ผลิตภัณฑ์จากลำต้นและกิ่งของไม้ไผ่ ได้แก่ เก้าอี้ โต๊ะ ชั้นวางหนังสือ ทำด้ามไม้กวาด  ท่อส่งน้ำ รางน้ำ
-ผลิตภัณฑ์จากเนื้อไม้ไผ่ ได้แก่ ถาดใส่ขนม ทัพพีไม้ ตะเกียบ กรอบรูป ไม้ก้านธูป ไม้พาย เครื่องดนตรี ไม้บรรทัด
-ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากไผ่ซีก ได้แก่ โครงโคมกระดาษ โครงพัด โครงร่ม ลูกระนาด พื้นม้านั่ง สุ่มปลา สุ่มไก่ เป็นต้น







ไผ่ที่ปลูกกันในประเทศไทยมีหลายชนิด  วันนี้เราลองมาจัดประเภทไผ่กันอย่างคร่าวๆดู   จะทำให้เกษตรกรที่หันมาปลูกไผ่ได้มีข้อมูลในการตัดสินใจปลูกกัน   ว่าควรจะปลูกไผ่ชนิดไหนกัน   ปลูกเพื่ออะไร  ปลูกแล้วจะได้ประโยชน์อะไรกับไผ่

          ไผ่ที่นิยมปลูกกันแบ่งได้ดังนี้คือ  ไผ่ที่ปลูกเพื่อใช้ลำของไม้ไผ่และไผ่ที่ปลูกเพื่อการบริโภคหน่อโดยมีรายละเอียดดังนี้

1. ไผ่ที่นิยมปลูกเพื่อใช้ลำ   การปลูกไผ่เพื่อใช้ลำ   เกษตรกรต้องการคือปลูกไว้กันลม  รอบๆที่  ไม่ได้หวังหน่อ  ไม้ไผ่ที่เลือกใช้ควรจะลู่ลมไม่ต้านลม  สังเกตุไผ่ที่ลู่ลมคือจะต้องไม่มีกิ่งแขนงยาวเกินไปและไม่มีกิ่งแขนงมากนัก  แต่ก็ยังสามารถตัดไม้ไผ่มาขายหรือใช้สอยในสวนได้   แต่ก็มีเกษตรกรอีกกลุ่มหนึ่งที่ปลูกเป็นสวนเพื่อต้องการขายไม้ไผ่  เกษตรกรกลุ่มนี้คือมีที่ดินเหลือจากการปลูกพืชชนิดอื่นๆ    หรือมีที่ดินมาก  ปลูกพืชอื่นก็ต้องดูแลมาก 


          1.1ไผ่รวกดำ   เป็นไผ่ที่ปลูกเพื่อใฃ้ลำกัน  โดยส่วนใหญ่จะปลูกกันอยู่ทางเหนือของไทยมากที่สุด    หน่อรัปประทานได้   แต่ต้องต้มให้หายขมก่อน   พบมากที่ จ.น่าน  จ.พะเยา จ.เชียงราย  มีพ่อค้าจากทางตะวันออกและภาคกลางมาซื้ออยู่ที่ลำละ  10-13  บาทนำไปปักหอยเพราะทนต่อสภาพน้ำเค็มได้ดี   เนื้อไม้แข็งแรงมาก   แต่ไผ่รวกดำก็สามารถปลูกได้ที่พื้นที่ของประเทศไทย    ถ้าเกษตรกรมีปลูกพืชอื่นๆอยู่และต้องการปลูกไผ่เป็นไม้บังลมรอบๆที่ดิน  ก็สามารถใช้ไผ่รวกดำได้   ถ้าปลูกรอบๆที่ดินใช้ระยะปลูกอยู่ที่ระยะระหว่างต้น   2 เมตรปลูกแถวเดียวครับ   ไผรวกดำเป็นไผ่ลู่ลำเพราะกิ่งแขนงและใบน้อย  ไม่ต้านลำ เมื่อปลูกแล้วจะไม่โค่นเมื่อมีลำมาปะทะ     การออกหน่อของไผ่รวกดำจะออกมากในฤดูฝนตกชุก 
          แต่เกษตรกรที่ต้องการปลูกไผ่รวกดำทั้งแปลงจะใช้ระยะอยู่ที่   ระยะระหว่างต้น  2.5  เมตร  ระยะระหว่างแถว  4  เมตร  พื้นที่  1  ไร่จะใช้ต้นพันธุ์  180  ต้น  การปลูกจะตัดไม้ใช้สอยหรือขายได้ในปีที่  4  หลังจากปลูก  ต่อไปตัดได้ทุกๆปี  โดยเลือกตัดไม้แก่ที่เกิดก่อนออกไปครับ   ไผ่รวกนิยมขยายพันธุ์โดยการขุดแยกเหง้าครับ


          1.2กลุ่มไผ่เลี้ยง  มีไผ่เลี้ยงใหญ่   ไผ่เลี้ยงทางเหนือ  ไผ่เลี้ยงสีทอง    ไผ่เลี้ยงสีทอง(บางที่เรียกไผ่เลี้ยงหวาน,ไผ่เลี้ยง 3 ฤดู ,ไผ่หวาน,ไผ่เลี้ยงทะวาย) เป็นไผ่เลี้ยงที่มีลำต้นสูงไม่เกิน  5  เมตร  เส้นผ่าศูนย์กลางไม้  1.5-2  นิ้ว  ลำต้นไม่มีรูกลางลำ   ส่วนไผ่เลี้ยงใหญ่และไผ่เลี้ยงทางเหนือความสูงของกอ  12  เมตรขึ้นไป  เส้นผ่าศูนย์กลางลำ  2-2.5  นิ้วการปลูกไผ่เลี้ยง  ถ้าเป็นเป็นไม้กันลมทำได้ดีมาก  เพราะใบและกิ่งเป็นแบบลู่ลม  ไม่ต้านลม  การปลูกหากปลูกแถวเดี่ยวจะใช้ระยะระหว่างต้น  2  เมตรถึง  2.5  เมตร  แต่ถ้าจะปลูกเป็นแปลงใหญ่ให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น  2.5  เมตร ระยะระหว่างแถว  4  เมตร  ใช้ต้นพันธุ์ไร่ละ  180  ต้น  เริ่มเก็บหน่อไว้ทำอาหารหรือขายได้ในปีที่  2  หลังจากปลูก  อาหารที่นิยมใช้ไผ่เลี้ยงทำ  คือต้มทำซุปหน่อไม้  หรือทำหน่อไม้ในถุงพลาสติกเก็บไว้ขายนอกฤดู  เป็นต้น  ส่วนลำ  จะเริ่มตัดขายได้เมื่อปลูกได้  4  ปีไปแล้ว โดยจะตัดลำที่แก่ก่อน  ถ้าเป็นไผ่เลี้ยงใหญ่และไผ่เลี้ยงทางเหนือจะขายลำละ  10-13  บาท  แต่ถ้าเป็นไผ่เลี้ยงสีทอง(ลำสั้นกว่า) จะขายได้ลำละ  1-3  บาท  จะเห็นว่าเกษตรกรปลูกไผ่เป็นแนวรั้วแค่เป็นไม้ใช้สอยก็สามารถมีรายได้จากการขายหน่อและลำได้  ถ้าเกษตรกรมีพื้นที่ทำกินเช่น  20  ไร่ถ้าปลูกไผ่รอบรั้วก็ได้หลายร้อยกอแล้ว  ตัดไม้กอละ  10  ลำต่อกอต่อปี  รวมๆแล้วก็ได้ไม้มากพอที่จะเป็นรายได้ส่วนหนึ่งครับ   ไผ่เลี้ยงทุกชนิด  ขยายพันธุ์ได้ดีคือการขุดเหง้าและรองลงมาคือการตอนกิ่งแขนงข้าง


ไผ่เลี้ยงใหญ่

ไผ่เลี้ยงสีทองหรือไผ่เลี้ยงหวาน

          1.3 ไผ่ซาง  เป็นไผ่ที่นิยมปลูกกันมาก  และพบมากในป่าทางภาคเหนือของประเทศไทย  มีเส้นผ่าศูนย์กลางลำ   3-8  นิ้ว  ลำสูง  15-25  เมตร   หน่อรับประทานได้ดี  ถ้าหน่อใต้ดินจะมีรสหวาน  แต่ถ้าถูกอากาศหรือเก็บไว้ข้ามวันจะมีรสขมมาก  นิยมนำไปต้มแล้วจิ้มน้ำพริก  หรือทำยำหน่อไม้   ส่วนลำใช้ประโยชน์ได้มากมาย  ทำไม้ค้างก่อสร้าง  ทำตะเกียบ  ไม้เสียบอาหาร  ทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ตั้งแต่ชิ้นเล็กจนชิ้นใหญ่  ส่งออกไปต่างประเทศมากมาย  ทำบ้านไม้ไผ่    เศษซากจากการแปรรูป  ข้อไม้นำไปเผาถ่านหรือทำชีวมวลให้โรงไฟฟ้า  และทำกระดาษ  เป็นต้น   นับว่าอุตสาหกรรมจากไม้ไผ่ที่เกิดขึ้นจะใช้ไผ่ซางมากที่สุด  พบมีโรงงานแบบใช้แรงงานในครัวเรือนทำตะเกียบและไม้เสียบอาหารมากที่สุดที่  จ.แพร่  จ.ลำปาง  จ.อุตรดิตถ์  จ.พะเยา   และจ.น่าน  ไผ่ซางนิยมขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่งแขนงข้าง
          -ไผ่ซางนวล D.  membranaceus  เป็นไผ่ที่พบอยู่ตามป่า หรือเรียกว่าซางป่า  ใบจะมีขนาดเล็กเหมือนไผ่เลี้ยงไผ่รวก  ในป่าพบว่ามีการตายขุยและได้ต้นที่งอกใหม่จากเมล็ด  มีความแปรปรวนหลายลักษณะอยู่ในป่า  ชาวบ้านที่ไปตัดจากป่ามาใช้งานก็จะเลือกตัดเอาแต่ต้นที่ใช้ได้ลำตรง ลำสวย  กอที่ให้ลำไม่ดี  ลำเล็ก ลำไม่ตรงก็จะไม่ได้ตัด  เนื้อไม้จะไม่หนามากนัก  จะต้องปลูกเป็นกลุ่มถึงจะตรง  จะปลูกเป็นไม้ริมรั้วไม่ได้เพราะถ้าปลูกเดี่ยวๆจะไม่ตรง  ต้องอยู่กับไม้อื่นๆถึงจะตรง  หากเกษตรกรจะต้องการปลูกไผ่ซางนวลจะต้องคัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีที่สุดจากป่ามาก่อนแล้วค่อยขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณโดยการตอน  ไม่นิยมนำเมล็ดมาปลูกโดยตรงเพราะจะกลายพันธุ์มาก  หากเกษตรกรจะต้องการปลูกไผ่ซางนวบควรใช้ระยะที่  4  เมตรคูณ  4  เมตร  พื้นที่  1  ไร่จะได้ไผ่  100  กอ
          -ไผ่ซางดำหรือไผ่ซางหวาน  D.strictus   เป็นไผ่ที่ถูกคัดเลือกโดยธรรมชาติที่ให้ลักษณะที่ดีแล้ว    ใบใหญ่พอๆกับไผ่กิมซุ่ง ต่างจากไผ่ซางป่ามาก   ลำสีเขียวเข้ม  ขนาดลำจะใหญ่กว่าไผ่ซางนวล   ลำตรงเปลา  เนื้อไม้หนากว่าซางนวล  ปลูกกอเดี่ยวๆยังสามารถให้ลำที่ตรงไม้โค้ง  สามารถปลูกเป็นไม้กันลมหรือไม้ริมรั้วได้ดี  เพราะไม่ต้านลม    ถ้าปลูกเป็นไม้ริมรั้วควรปลูกเป็นแถวเดี่ยว  ใช้ระยะระหว่างต้น  3-4  เมตรไปตามแนวรั้ว  และควรห่างจากรั้ว  3-4  เมตรเพื่อจะได้ไม่ไปรบกวนเพื่อนบ้าน  แต่ถ้าปลูกเป็นแปลงใหญ่จะใช้ระยะระหว่างต้น  5  เมตร  ระยะระหว่างแถว  5  เมตร   พื้นที่  1  ไร่จะปลูกได้  64  กอ(ต้น)  หน่อของไผ่ซางดำจะให้รสชาติที่ดีกว่าไผ่ซางทุกชนิด  นิยมนำมาแกงสดๆเป็นแกงพื้นเมืองหรือแกงเปอะ  ตัดหน่อได้เมื่อปลูกได้     1  ปีขึ้นไป  ส่วนการตัดลำไม้จะตัดได้เมื่อปลูกได้  4  ปีขึ้นไป  ไม้ที่โคนจะหนา  กว่ากลางลำ  ปรกติจะซื้อขายลำที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง  4  นิ้วขึ้นไปโดยตัดส่วนโคนลำ  2  เมตรขายให้กับโรงงานเฟอรืนิเจอร์  ท่อนละ  120  บาท ส่วนกลางลำตัดขายได้  ตันละ  800  บาทให้โรงงานทำตะเกียบ  ส่วนปลายลำ  ขายให้โรงงานไม้เสียบอาหาร  ต้นละ  1,000  บาท   และเศษซางที่เหลือขายให้โรงงานทำเยื่อกระดาษ  ตันละ  500  บาท   ส่วนใบนำไปทำปุ๋ยดินขุ๋ยไผ่   การขยายพันธุ์ไผ่ซางดำจะใช้วิธีการตอนกิ่งแขนงข้าง
          -ไผ่ซางหม่น  D.  sericeus  ในปัจจุบันเกษตรกรยังสบสนระหว่างไผ่ซางหม่นกับซางนวล   ไผ่ซางหม่นใบจะใหญ่พอๆกับไผ่ซางดำ หรือใบไผ่กิมซุ่ง  แต่ใบไผ่ซางนวลจะใบเล็กกว่ามาก  ใบไผ่ซางนวลจะเท่าๆกับใบของไผ่รวก   และลำก็ต่างไผ่ซางหม่นลำจะมีแป้งมาก  ไผ่ซางนวลแป้งจะน้อยกว่า  ไผ่ซางหม่นพบที่ป่าทางภาคเหนือของไทยมากที่สุด  ในเขตน่าน -แพร่-อุตรดิตถ์  จะพบเป็นไผ่ซางหม่นอีกชนิดหนึ่ง ลำมีเส้นผ่าศูนย์กลาง  4-6 นิ้ว  แต่ลำจะสูงมาก  และมีผู้ขายพันธุ์ตั้งชื่อการค้าหลายชื่อทำให้เกษตรกรสับสน  ชื่อการค้าที่พบคือ  ไผ่ซางนวลราชีนี  ไผ่ซาง  3  สายพันธุ์  ไผ่ซางหม่นแพร่  สอบถามผู้ที่ทำพันธุ์ไผ่ซางหม่นในจ.อุตรดิตถ์เป็นรายแรกๆ  คุณประดับ  บอกว่านำสายพันธุ์มาจาก  บ้านห้วยม้า  ต.ห้วยม้า  จ.แพร่   ไผ่ซางหม่นลำละตรงเปลาแม้ว่าจะปลูกกอเดี่ยวๆ  เช่นเดียวกับไผ่ซางดำ  เนื้อไม้ไผ่ซางหม่นหนาที่โคนมาก  และทั้งลำยังหนากว่าไผ่ซางทุกสายพันธุ์  เป็นที่ต้องการของผู้ที่จะนำไปแปรรูปไม้ไผ่มาก  เช่นทำบ้านไม้ไผ่และเฟอร์นิเจอร์    ไผ่ซางหม่นสายพันธุ์นี้สามรถปลูกเป็นไม้กันลมได้ดี  เพราะกิ่งและใบไม่ต้านลม  ควรปลูกที่ระยะระหว่างต้นที่  3-4 เมตร  ถ้าปลูกเป็นแปลงใหญ่ควรใช้ระยะ ระหว่างต้น  5  เมตร  ระยะระหว่างแถว  6  เมตร จะได้ไม้ยาวและลำใหญ่  นอกจากนี้ยังมีไผ่ซางหม่นสายพันธุ์จาก  อำเภอเชียงดาว   พบว่าเป็นต่างสายพันธุ์จากของแพร่  มีผู้ตั้งชื่อการค้าว่า  พันธุ์สูงเสียดฟ้า หรือเรียกไผ่ซางหม่นยักษ์  ไผ่ซางหม่นสายพันธุ์จากเชียงดาวพบโดยคุณลุงสมจิตร   เป็นไผ่ซางหม่นที่ใบใหญ่เช่นเดียวกัน  แต่ลำมีเส้นผ่าศูนกลาง  4-8  นิ้วจะใหญ่กว่าทางซางหม่นสายพันธุ์แพร่   เนื้อไม้หนามาก  มีความแข็ง  ทนทาน  ข้อถี่กว่าซางหม่นของแพร่   เกษตรกรควรใช้ระยะระหว่างต้นที่  6  เมตร ระยะระหว่างแถวที่  6  เมตร จะทำให้ได้ลำที่ใหญ่  ถ้าต้องการลำเล็กกว่านี้ก็ปลูกถึ่ขึ้นได้  ลำของไผ่ซางหม่นแยกขายเช่นเดียวกับไผ่ซางดำ  มีรายได้รวมต่อลำได้ไม่ต่ำกว่าลำละ  200  บาทเพราะมีน้ำหนักดี  เป็นที่ต้องการของผู้ที่แปรรูปไม้ไผ่เช่นกัน  การขยายพันธุ์ไผ่ซางหม่นนิยมใช้การตอนกิ่งแขนงข้างดีที่สุด  รองลงมาคือชำลำแบบแนวนอน    ไม่ว่าเกษตรกรจะปลูกตามแนวรั้วหรือปลูกเป็นแปลงใหญ่  สามารถเก็บหน่อได้หลังจากปลูกไปได้  1  ปี  และจะตัดขายลำได้เมื่อปลูกไปได้  4  ปี  และจะตัดไม้ได้ตลอดทุกๆปี

          การปลูกไผ่เพื่อขายลำ  จะเหมาะกับเกษตรกรที่มีที่ดินมากๆ  และมีรายได้จากทางอื่น   ไม่เดือดร้อนที่จะต้องรีบเก็บเกียวเพื่อจะให้ได้เงินไวๆ  สามารถปลูกได้หมดทั้งที่ดิน  เพราะการดูแลง่ายไม่ต้องไปห่วงตัดหน่อ  และไม่ต้องห่วงว่าจะได้รายได้เร็ว  การปลูกไผ่เพื่อขายไม้นี้จะต้องปลูกจนไผ่มีอายุได้  4-5  ปีจึงจะตัดไม้ได้ทุกปีโดยเลือกตัดลำที่แก่กว่า   รายได้จากการขายไม้ไผ่โดยที่ไม่ได้แปรรูป  ถ้าเลื่อกปลูกไผ่ซางหม่นหรือไผ่ซางหวานจะมีรายได้จากการขายลำไม้ไร่ละไม่ต่ำกว่า   500  ลำ  ๆละ  100  บาท  จะมีรายได้ไม่ต่ำกว่า  50,000  บาทต่อไร่ต่อปี    แต่ถ้ามีทุนนำไม้ที่ปลูกมาทำบ้านไม้ไผ่ขายออกแบบดีๆ  ป้องกันมอดได้ดี  รายได้จากใช้ประโยขน์จากไม้ไผ่จะมากขึ้น
ความสำคัญ
            ไผ่เป็นพืชที่จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับหญ้าทั่วๆไป คือวงศ์ Poaceae (Gramineae) โดยอยู่ในเผ่า (Tribe) Bambuseae แต่นักพฤกษศาสตร์บางท่านก็จัดให้ไผ่อยู่ในวงศ์ Bambusaceae ด้วยเหตุผลที่ว่า มีลักษณะบางอย่างแตกต่างออกไปจากหญ้าทั่วๆไป เช่น มีเนื้อไม้ มีก้านใบเด่นชัด ส่วนใหญ่แล้วส่วนต่างๆของดอกมีจำนวนเท่ากับสาม เป็นต้น (เต็ม และ ชุมศรี, 2512)

            ไผ่จัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งเป็นพืชเอนกประสงค์ที่สามารถพบได้ในส่วนต่างๆ ของโลกบริเวณเขตร้อนและเขตกึ่งร้อน มีเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่พบในเขตหนาว ไผ่ที่พบในเขตต่างๆ ของโลกมีประมาณ 1,200 ชนิด (species) จากจำนวน 70 สกุล (genera) (Zhou, 2000) ซึ่งประเทศไทยอยู่ในเขต tropical จัดได้ว่าเป็นศูนย์กลางของความหลากหลายของไผ่ (center of diversity of bamboos) แห่งหนึ่งของโลก (Dransfield and Widjaja, 1995) ด้วยเหตุนี้น่าจะทำให้ประเทศไทยเราได้เปรียบประเทศอื่นในการที่จะนำไผ่มาใช้ประโยชน์ทั้งในด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเพื่อการพัฒนาประเทศได้
         ไผ่เป็นพืชที่นำมาใช้ประโยชน์อย่างมากมาย จำแนกได้ดังนี้ (สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม, 2529)
  1. ช่วยในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ป้องกันการพังทลายของหน้าดินตามริมฝั่งแม่น้ำ เป็นแนวกันลมพายุ ชะลอความเร็วกระแสน้ำอันเกิดจากน้ำท่วม ให้ความร่มรื่น ใช้ประดับสวน สถานที่พักผ่อนหย่อนใจต่างๆ
  2. ประโยชน์ของไม้ไผ่จากลักษณะทางฟิสิกส์ จากความแข็งแรง ความเหนียว การยืดหด ความ
    สามารถดัดโค้ง การคืนตัวสปริงตัวได้ดี ใช้แทนเชือกมัดสิ่งของ ใช้เสริมคอนกรีตเป็นส่วนต่างๆ ของอาคารบ้านเรือนแบบประหยัด
  3. ประโยชน์จากลักษณะทางเคมี เนื้อไม้บดทำเป็นเยื่อกระดาษ เส้นใยใช้ทำไหมเทียม สกัดสารเคมีทำยารักษาโรคหลายชนิด ใช้ในอุตสาหกรรมนานาชนิด
  4. ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมและอุตสาหกรรม ในอดีตการใช้ประโยชน์จากไผ่ยังขาดการแนะนำส่งเสริมโดยนักวิชาการสู่ชาวบ้านหรือเกษตรกรทำให้การใช้ประโยชน์จากไผ่นั้นไม่เกิดประโยชน์สูงสุดและทำให้ทรัพยากรไผ่ ซึ่งส่วนใหญ่นำออกมาจากป่านั้นเสื่อมโทรมลงทุกวัน เช่น การเก็บเกี่ยวผลผลิตลำไผ่สดที่ได้ประมาณตันเศษๆต่อไร่ ในขณะที่เกณฑ์ทั่วไปควรจะได้ถึง 3 ตันต่อไร่ (อนันต์, 2532) การใช้ประโยชน์จากหน่อ จัดได้ว่าไผ่ตงเป็นไผ่ที่ได้รับความนิยมสูงสุด นอกจากนี้ยังมีไผ่รวก ไผ่บง ไผ่หวานเมืองเลย ไผ่หมาจู๋ ไผ่ลุ่ยจู๋ ฯลฯ ก็ได้รับความนิยมบริโภคหน่อเช่นกัน กรมป่าไม้ได้จัดแบ่งไผ่ตงไว้ 5 พันธุ์ คือ ไผ่ตงหม้อหรือตงใหญ่ ไผ่ตงดำหรือตงจีนหรือตงกลาง ไผ่ตงเขียว ไผ่ตงหมู และไผ่ตงลาย นอกจากนี้ไผ่ตงจากไต้หวันอีก 2 ชนิด คือไผ่หมาจู๋ (Dendocalamus latiflorus) และไผ่ลุ่ยจู๋(Bambusa oldhamii) นิยมบริโภคหน่อสดและนำมาแปรรูปเนื่องจากมีลักษณะเด่นคือ รสชาติหวานกรอบ เนื้อละเอียด สามารถต้มได้ทั้งเปลือก นำมาแปรรูปเป็นหน่อไม้แห้งได้ดีเพราะเวลาต้มจะไม่เปื่อยยุ่ยง่ายและไม่เหม็นหืนเหมือนหน่อไม้แห้งที่ทำจากไผ่ตงในบ้านเรา ข้อได้เปรียบอีกประการคือไผ่ตงไต้หวันไม่มีขนบริเวณข้อปล้องหรือกาบหุ้มหน่อ ไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง ชนิดของไผ่ที่รู้จักการนำมาใช้ประโยชน์อยู่หลักๆในประเทศไทยนั้นมีอยู่ประมาณ 10 ชนิดเท่านั้น ได้แก่ ไผ่ตง ไผ่รวก ไผ่นวล ไผ่สีสุก ไผ่ป่า ไผ่เลี้ยง ไผ่รวกดำ ไผ่ซาง ไผ่ข้าวหลาม และไผ่ไร่ (Pattanavibool, 2000) ในอนาคตหากเรายังคงบริโภคไผ่ในลักษณะนี้อาจทำให้ไผ่บางชนิดโดยเฉพาะชนิดที่นิยมใช้ประโยชน์กันมากอาจสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยได้ นอกจากนี้การตัดลำและหน่อโดยปราศจากการจัดการและการอนุรักษ์ที่ดีพอ ประกอบกับการแพร่พันธุ์ตามธรรมชาติมีข้อจำกัดอยู่มาก ทั้งจากสภาพแวดล้อม เช่น ภัยธรรมชาติ สัตว์ป่า หรือการบุกรุกทำลายป่าโดยมนุษย์ รวมทั้งสภาพสรีระของไผ่ที่ออกดอกไม่แน่นอน ติดเมล็ดน้อย อัตราการงอกไม่แน่นอน เช่นไผ่ตง (ปรานอมและคณะ,2541) ทำให้ป่าไผ่ธรรมชาติเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว ไผ่บางชนิดอาจสูญพันธุ์ไปได้ถ้าไม่มีการรวบรวมพันธุ์ และจำแนกพันธุ์ที่ชัดเจน ถูกต้อง
           การขยายพันธุ์ไผ่สามารถทำได้ทั้งแบบการใช้เพศ ไม่ใช้เพศ รวมถึงการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช การขยายพันธุ์แบบการใช้เพศ (sexual propagation) ได้แก่การเพาะเมล็ด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของไผ่ บางชนิดติดเมล็ดน้อย บางชนิดติดเมล็ดมาก และขึ้นอยู่กับอัตราการงอกของไผ่แต่ละชนิดด้วย การขยายพันธุ์แบบไม่ใช้เพศ (vegetative propagation) เป็นวิธีหลักที่นิยมใช้กันทั่วไปได้แก่ วิธีการแยกกอ แต่ต้องระมัดระวังไม่ทำให้กอแม่เกิดบาดแผล การขยายพันธุ์วิธีนี้ได้ปริมาณต้นพันธุ์น้อยและไม่สะดวกในการขนส่งเพื่อนำไปปลูก นอกจากนี้ยังสามารถขยายพันธุ์ได้โดย การตัดชำลำ ตัดชำแขนง เป็นต้น มีผู้ศึกษาการขยายพันธุ์แบบตัดชำลำและแขนงของไผ่พันธุ์หมาจู๋ แต่ผลที่ได้ยังมีเปอร์เซ็นต์ต่ำมากประมาณ 1.33 – 10.7 % (กลุ่มเกษตรสัญจร,2531 และสมปอง,ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์)
          การจัดการปลูกสร้างสวนไผ่ที่ประสบความสำเร็จต้องเริ่มตั้งแต่ การเลือกพื้นที่ปลูก การคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมต่อสภาพพื้นที่ สภาพอากาศ การได้ต้นพันธุ์ที่มีคุณภาพจากวิธีการขยายพันธุ์ที่ถูกต้อง การเตรียมหลุมปลูก ฤดูกาลปลูก วิธีการปลูกและระยะปลูกที่ถูกต้อง การปฏิบัติดูแลรักษา การตัดแต่งไว้ลำ จำนวนลำต่อกอตามอายุไผ่ การขุดหน่อที่ถูกวิธี การคลุมโคนเพื่อผลิตหน่อที่มีคุณภาพ เป็นต้น ทั้งนี้การศึกษาต้นทุนการผลิต ผลตอบแทนในแต่ละปีเป็นสิ่งจำเป็นในการศึกษาวิจัย เพื่อเป็นคำตอบให้แก่เกษตรกรและกลุ่มบุคคลเป้าหมายผู้ปลูกไผ่ในอนาคต



วิธีการปลูกเเละการดูเเลรักษา




การปลูก
ไผ่หวานปลูกได้กับดินทุกชนิด แต่ถ้าเป็นดินร่วนปนทรายจะเหมาะที่สุด ไม่ม้ำขัง ไม่แฉะ แต่ต้องมีน้ำรดตลอดปี จึงจะมีผลผลิตนอกฤดูกาล จะได้ราคาดี การปลูกแบบยกร่องจะช่วยในการระบายน้ำได้ดีกว่าปลูกในพื้นราบ ระยะปลูกประมาณ 2x3 เมตรดังนั้น 1 ไร่จะปลูกได้ประมาณ 250 - 260 กอ
การให้น้ำ
การให้น้ำ ถ้าเป็นฤดูฝน ก็สบาย ๆ ไม่ต้องเดือดร้อน เพราะเทวดาช่วยอยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นฤดูแล้ง ควรให้น้ำวันเว้นวัน โดยใช้สปริงเกอร์รดให้ทั่วบริเวณ ย้ำว่าทั่วบริเวณ ไม่ใช่เฉพาะโคนต้นนะครับ ทั้งนี้เพราะรากของไผ่จะเจริญเติบโตทั่วบริเวณ
การดูแลรักษา
ไผ่เป็นพืชที่ดูแลง่าย ในช่วงแรก ต้องคอยกำจัดวัชพืช หลังจาก 1 ปี จะไม่มีวัชพืชขึ้น เนื่องจากใบของไผ่จะบังแสงแดดไม่ให้ส่องถึงพื้น อีกทั้งใบไผ่จะช่วยคลุมดินดีนักแล ในเดือนที่ 5 - 6 ควรมีลำต้นไว้ไม่เกิน 5 ลำ หมายถึงจะขายหน่อนะครับ ถ้าจะขายลำก็อีกเรื่องหนึ่ง ดินดี ปุ๋ยดี ประมาณ 6 เดือน ก็เก็บผลผลิตได้



น้ำยาปรับผ้านุ่ม

วิธีทำ 1 หัวนํ้ายาปรับผ้านุ่ม   1 กิโล
       2 กัว กำ                1 ขีด
       3 นํ้า                    15 ลิตร
       4 สี
       5 นํ้าหอม                3 ขวด
อย่างแรกคนหัวนํ้ายาปรับผ้านุ่มให้เป็นสีขาวหลังจากนั้นให้ตักนํ้าเปล่า10ลิตรค่อยๆตักใส่จนกว่านํ้า10ลิตรจะหมดหลังจากนั้นให้เอานํ้าที่เหลืออีก5ลิตรผสมกับกัวกำค่อยๆเทกัวกำใส่ทีละนิดแล้วคนให้เข้ากันจากนั้นก็เทกัวกำ5ลิตรใส่ไปในหัวนํ้ายาปรับผ้านุ่ม10ลิตรที่ผสมแล้วพอคนเข้ากันแล้วก็ใส่สีแล้วคนให้สีละลายเสร็จแล้วก็ใส่นํ้าหอมแล้วก็พร้อมใช้ได้เลย
เสร็จสิ้นขั้นตอนการทำนํ้ายาปรับผ้านุ่ม

น้ำยาสระผม

การทำน้ำยาสระผม สูตรอีเอ็ม-มะกรูด
หัวข้อ: EM Tips

สูตรน้ำยาสระผม EM มะกรูด

วัตถุดิบ
1. มะกรูดแก่ ๆ 30 กก. สรรพคุณรักษารังแค
2. EM หัวเชื้อ 1.25 ลิตร สรรพคุณช่วยย่อย ป้องกันการบูดเสีย
3. น้ำตาลทรายแดง 1.25 กก. สรรพคุณเป็นอาหาร EM
4. น้ำสะอาด 1 ถัง ตั้งพักไว้ 1 คืน ให้หมดกลิ่นคลอรีน
5. ดอกอัญชัญตากแห้ง 700 กรัม สรรพคุณทำให้ผมดกดำ เงาเป็นประกาย ปลูกผม
6. ใบย่านางสด (เฉพาะใบ) 2 กก. สรรพคุณทำให้ผมนุ่มสลวย หวีง่าย (ประมาณ 20 ถุงๆ ละ 20 บาท)
7. N70 (ผงหนืด ประมาณ 3 - 4 กก.)
8. เกลือแกง หรือ เกลือสินเธาว์ (เกลือที่รับประทานได้ 1ถุงเล็ก)

อุปกรณ์
1. ถังพลาสติกมีฝาปิด ขนาด 32 แกลลอน 1 ถัง
2. ผ้าขาวบาง 1 ผืน
3. ไม้พายอันใหญ่ 1 อัน สำหรับคนวัตถุดิบ
4. ตาชั่ง
5. ถ้วยตวง
6. มีด เขียง
7. กะละมัง

วิธีการทำ

1. การทำน้ำหมัก

1.1 นำมะกรูดทั้งลูกมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ
1.2 นำ EM น้ำตาลทรายแดง ละลายให้เข้ากัน
1.3 นำวัสดุในข้อ 1.1 และ 1.2 ใส่ในถุงตาข่าย คลุกให้เข้ากัน จากนั้นเติมน้ำสะอาดที่เตรียมไว้ให้ท่วมเนื้อมะกรูด ปิดฝาให้มิดชิด หมักทิ้งไว้ 1 เดือน จะได้น้ำหมักมะกรูด จากนั้นกรองเอาแต่น้ำมาใช้

ขั้นตอนก่อนผสม
1. นำดอกอัญชัญตากแห้งมาต้มเคี่ยวให้เดือด ทิ้งไว้ให้อุ่น แล้วกรองเอาแต่น้ำ หากต้องการผมดกดำ ให้เพิ่มปริมาณดอกอัญชัญ
2. นำใบหญ้านางสด เฉพาะใบมาหั่น ปั่นหรือตำ จากนั้นนำมาต้มเคี่ยวให้เดือด ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วกรองเอาแต่น้ำ

วิธีการผสม นำน้ำมะกรูดที่หมักได้มาเติมน้ำดอกอัญชัญ น้ำใบหญ้านาง โดยเติมทีละชนิดตามลำดับ ค่อยๆ กวนทีละชนิดให้เข้ากับน้ำหมักมะกรูด

ขั้นตอนการเติม N70 เติม N70 5% ของน้ำหมักมะกรูดที่ผสมกับน้ำอัญชัญ และใบย่านาง เช่น น้ำหมัก 1 กก. (1,000 กรัม หรือ 1,000 CC) เติม N70 50 กรัม หรือ 50 CC (ก่อนเติมให้กวน N70 ให้ละลาย โดยใส่เกลือผสมเล็กน้อยค่อยๆ กวนจนละลาย) ปล่อยทิ้งไว้จนฟองหาย ประมาณ 1 คืน จึงนำมาบรรจุขวด

วิธีการใช้ ก่อนสระผม ควรชโลมผมให้เปียกเสียก่อน เพื่อให้มะกรูดออกฤทธิ์เป็นกรดน้อยลง จากนั้นนำน้ำยาสระผมชโลมให้ทั่วหนังศีรษะและเส้นผม หมักทิ้งไว้ 10 - 15 นาทีแล้วล้างออกให้สะอาดด้วยน้ำ โดยไม่ต้องใช้ครีมนวดผม

สรรพคุณ สระผมด้วยน้ำมะกรูดจะทำให้เส้นผมลื่นเป็นมัน ไม่แห้งกรอบ ไม่หงอกเร็ว ไม่ร่วง
ช่วยบำรุงรากผมและหนังศีรษะไม่ให้เป็นรังแค ทำให้เส้นผมดกดำเป็นเงางาม มีน้ำหนัก หวีง่าย

น้ำยาล้างจาน

  1. N70  0.5 กิโลกรัม
  2. เกลือ 0.7 กิโลกรัมต้มด้วยน้ำ 1.5 กิโลกรัม(ลิตร)ทิ้งไว้ให้เย็น
  3. น้ำหมักผลไม้รสเปรี้ยว 1 ลิตร + น้ำ 10 ลิตร กะๆเอาน้ำหมักผมมีเยอะ ใส่มากกว่านี้ก็ไม่เป็นไร
    น้ำหมักผลไม้รสเปรี้ยว
    น้ำหมักผลไม้รสเปรี้ยวสูตร 3:1:10
    ผลไม้ 3 กิโลกรัม
    น้ำตาลทราย 1 กิโลกรัม
    น้ำ 10 ลิตร
    หมักทิ้งไว้ 3 เดือนเป็นอย่างน้อย

น้ำหมักผมครับ มะกรูด มะนาว มะปริง มั่วได้ที่

น้ำเกลือครับอันนี้ก็มั่วอีก พ่อผมต้มข้าวโพดเสร็จ ผมก็เอาน้ำที่เหลือจากต้มข้าวโพดใส่เกลือเพิ่มเข้าไปให้ได้ตามสูตรแล้วต้มให้เกลือละลาย
วิธีที่ผมทำ
  1. เท N70 ครึ่งกิโลกรัมลงไปในถังที่มีความจุประมาณ 20 ลิตร
  2. ค่อยๆ เติมน้ำเกลือ คนไปเรื่อยๆ คนให้เข้ากัน
  3. คน และเติมน้ำเกลือไปเรื่อยๆ จนน้ำเกลือหมด
  4. ค่อยๆ เติมน้ำหมักที่ผสมน้ำแล้ว แล้วคนไปเรื่อยๆ อย่ารีบเติม เติมไปคนไป ความหนืดจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น
  5. ทดสอบความหนืดโดยการดึงไม้ที่ใช้กวนขึ้นมาดู

    ถ้าไหลเร็วก็แสดงว่าเหลวเกินไป ถ้าไหลช้าแสดงว่าข้น
    ขึ้นอยู่กับว่าอยากได้แบบเหลวหรือแบบข้น
  6. ทิ้งไว้ 1 คืนเพื่อให้ฟองยุบ จึงนำมาใช้งานได้

วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

มะละกอ





มะละกอ (อังกฤษ: Papaya, คำเมือง: ᨠᩖ᩠ᩅ᩠᩶ᨿᨴᩮ᩠ᩈ) เป็นไม้ผลชนิดหนึ่ง สูงประมาณ 5-10 เมตร มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง ถูกนำเข้าสู่ประเทศไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกแล้วเนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม นิยมนำมารับประทานทั้งสดและนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ ฯลฯ หรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ก็ได้

ลักษณะทั่วไป
มะละกอเป็นไม้ล้มลุก (บางครั้งอาจเข้าใจผิดว่าเป็นไม้ยืนต้น) ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว 5-9 แฉก เกาะกลุ่มอยู่ด้านบนสุดของลำต้น ภายในก้านใบและใบมียางเหนียวสีขาวอยู่ มะละกอบางต้นอาจมีดอกเพียงเพศเดียว แต่บางต้นอาจมีดอกได้ทั้งสองเพศก็ได้ ผลเป็นรูปรี อาจหนักได้ถึง 9 กิโลกรัม ผลดิบมีสีเขียว และมีน้ำยางสีขาวสะสมอยู่ที่เปลือก ส่วนผลสุก เนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม มีเมล็ดสีดำเล็ก ๆ อยู่ภายในกินไม่ได้

ประโยชน์

นอกจากการนำมะละกอไปรับประทานสด ๆ แล้ว เรายังสามารถนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ แกงส้ม ฯลฯ หรือนำไปหมักเนื้อให้นุ่มได้อีกด้วย เพราะในมะละกอมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งเรียกว่า พาเพน (Papain) ซึ่งสามารถนำเอนไซม์ชนิดนี้ไปใส่ในผงหมักเนื้อสำเร็จรูป บางครั้งนำไปทำเป็นยาช่วยย่อยสำหรับผู้ที่มีปัญหาอาหารไม่ย่อยก็ได้
สำหรับสารอาหารในมะละกอนั้น มีดังต่อไปนี้

เนื้อมะละกอสุก
สารอาหารปริมาณสารอาหารต่อมะละกอสุก 100 กรัม
โปรตีน0.5 กรัม
ไขมัน0.1 กรัม
แคลเซียม24 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส22 มิลลิกรัม
เหล็ก0.6 มิลลิกรัม
โซเดียม4 มิลลิกรัม
ไทอะมีน0.04 มิลลิกรัม
ไรโบฟลาวิน0.04 มิลลิกรัม
ไนอะซิน0.4 มิลลิกรัม
กรดแอสคอร์บิก (วิตามินซี)70 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะละกอ สรรพคุณของมะละกอมีมากมายนัก ใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคได้ 1. แก้อาการขัดเบา ใช้รากสด (1 กำมือ) 70-90 กรัม รากแห้ง 25-35 กรัม หั่นต้มกับน้ำ กรองดื่มเฉพาะน้ำ วันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ถ้วยชา(75 มิลลิลิตร) ดื่มก่อนอาหาร
2. เป็นยาระบายอ่อนๆ การกินเนื้อมะละกอสุก ช่วยเป็นยาระบายอ่อนๆ เพราะไปช่วยเพิ่มจำนวนกากไยอาหาร ดังนั้นเนื้อผลสุกมะละกอจะช่วยระบายอ่อนๆ แก้ท้องผูก
สรรพคุณ มะละกอ :
ผลสุก - เป็นมีสรรพคุณป้องกัน หรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบาย
ยางจากผลดิบ - เป็นยาช่วยย่อยโปรตีน ฆ่าพยาธิได้
รากมะละกอ - ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา
ใช้เป็นยาระบาย :ใช้ผลสุกไม่จำกัดจำนวน รับประทานเป็นผลไม้
เป็นยาช่วยย่อย: 1. ใช้เนื้อมะละกอดิบไม่จำกัด ประกอบอาหาร เช่น ส้มตำ แกง เป้นผักจิ้ม 2. ยางจากผลดิบ หรือจากก้านใบ ใช้ 10-15 กรัม หรือถ้าเป็นตัวยาช่วยย่อย เพราะในยางมะละกอมีสารที่เรียกว่า Papain
เป็นยากัน หรือแก้โรคลักปิดลักเปิด โรคเลือดออกตามไรฟัน: ใช้มะละกอสุกรับประทานเป็นผลไม้ ให้วิตามินซีสูง
เท้าบวม: เอาใบมะละกอสดตำให้แหลกผสมกับเหล้าขาว ใช้พอกเท้าที่บวมลดอาการบวมลงได้
แก้เคล็ดขัดยอก: ใช้รากมะละกอสดตำให้แหลกผสมเหล้าโรงพอก
โดนหนามตำหรือหนามหักคาเนื้อใน: ให้บ่งปากแผลเปิดออก เอายางมะละกอดิบใส่หนามจะหลุดออก
คันเพราะพิษของหอยคัน: ให้ใช้ยางมะละกอดิบทาเช้า-เย็นจนหาย
เมื่อมีอาการปวดตามข้อและหลัง: รับประทานมะละกอสุกเป็นประจำป้องกันและบำบัดโรคปวดข้อปวดหลังได้ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ไม่มีแรง ใช้รากมะละกอตัวผู้แช่เหล้าขาวให้ท่วมยาไว้ 7 วัน และกรองเอาน้ำใช้ทาแก้ปวดข้อและกล้ามเนื้อเปลี้ยอ่อนแรง ลดอาการปวดบวม ให้เอาใบมะละกอสดย่างไฟหรือลวกกับน้ำร้อนแล้วประคบบริเวณที่ปวด หรือตำพอหยาบห่อด้วยผ้าขาวบางทำเป็นลูกประคบ
ถ้าโดนตะปูตำเป็นแผล: ให้เอาผิวลูกมะละกอดิบตำพอกแผล เปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง แผลน้ำร้อนลวก ใช้เนื้อมะละกอดิบต้มให้สุกจนเปือย ตำพอกที่แผล แผลพุพอง ใช้ใบมะละกอแห้งกรอบบดเป็นผง ผสมกับน้ำกะทิพอเหนียวข้น ใช้พอกหรือทาที่แผลวันละ 2-3 ครั้ง
แก้ผดผืนคัน: ใช้ใบมะละกอ 1 ใบ น้ำมะนาว 2 ผล เกลือ 1 ช้อนชา ตำรวมกันให้ละเอียดเอาทั้งน้ำและเนื้อทาแผลบ่อยๆ กลาก เกลื้อน ฮ่องกงฟุตหรือเท้าเปือย ใช้ยางของลูกมะละกอดิบทาวันละ 3 ครั้งฆ่าเชื้อราได้

กล้วย

กล้วย เป็นพรรณไม้ล้มลุกในสกุล Musa มีหลายชนิด เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยน้ำไท กล้วยหอมทอง กล้วยหอมเขียว กล้วยไข่ กล้วยตานี กล้วยหักมุก กล้วยเล็บมือนาง กล้วยนิ้วมือนาง กล้วยส้ม กล้วยนาค กล้วยหิน กล้วยงาช้าง ฯลฯ บางชนิดก็ออกหน่อแต่ว่าบางชนิดก็ไม่ออกหน่อ ใบแบนยาวใหญ่ ก้านใบตอนล่างเป็นกาบยาวหุ้มห่อซ้อนกันเป็นลำต้น ออกดอกที่ปลายลำต้นเป็น ปลี และมักยาวเป็นงวง มีลูกเป็นหวี ๆ รวมเรียกว่า เครือ พืชบางชนิดมีลำต้นคล้ายปาล์ม ออกใบเรียงกันเป็นแถวทำนองพัดคลี่ คล้ายใบกล้วย เช่น กล้วยพัด (Ravenala madagascariensis) ทว่าความจริงแล้วเป็นพืชในสกุลอื่น ที่มิใช่ทั้งปาล์มและกล้วย


การใช้ประโยชน์
กล้วยเป็นพืชที่ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ใบตองใช้ห่ออาหารและทำงานฝีมือหลายชนิด ลำต้นใช้ทำเชือกกล้วย กระทง

 อาหารที่ทำจากกล้วย

ส่วนต่างๆของกล้วยนำมาทำอาหารได้หลายส่วน ทั้งหัวปลี หยวกกล้วย ผลทั้งสุกและดิบ ตัวอย่างเช่น กล้วยแขก กล้วยบวชชี กล้วยปิ้ง กล้วยตาก กล้วยเชื่อม ข้าวเม่าทอด กล้วยทอด



ประเภทของกล้วย
             หากสามารถรวบรวมพันธุ์กล้วยทั่วโลกมาปลูกไว้ในที่เดียวกันสวนกล้วยแปลงนั้นคงต้องใช้เนื้อที่มาก เพราะกล้วยมีสายพันธุ์หลายร้อยพันธุ์ เฉพาะในประเทศไทยก็มีถึง 323 สายพันธ์ ทดลองปลูกได้แล้ว 59 สายพันธุ์ ทั้งที่เป็นกล้วยป่า  กล้วยในท้องถิ่น  พันธุ์ที่นำมาจากต่างประเทศ  พันธุ์กล้วยที่รู้จักกันทั่วไปมีมากมาย
เช่น       กล้วยป่า 
            กล้วยตานี ผลใหญ่มีเมล็ดมาก 
            กล้วยน้ำไทหรือกล้วยหอมเล็ก            
            กล้วยไข่ในประเทศไทยนิยมปลูกมากที่จังหวัดกำแพงเพชร จึงมีคนเรียกว่ากล้วยไข่กำแพงเพชร 
            กล้วยหอมจันทร์                              
            กล้วยนมสาว  พบทางภาคใต้
            กล้วยร้อยหวี  มีผลมาก ผลขนาดเล็ก
            กล้วยหอมทองผลใหญ่
            กล้วยหอมใต้หวัน  มีผลดกกว่ากล้วยหอมทอง
            กล้วยหอมเขียวค่อม  ผลสุกโดยธรรมชาติจะมีสีเขียว  แต่ถ้าบ่มถูกวิธีก็จะมีสีเหลือง
            กล้วยนากมีผลใหญ่
            กล้วยน้ำ
            กล้วยขม
            กล้วยน้ำว้า  ถ้าแบ่งตามไส้จะมี 3 ชนิด  คือ ชนิดไส้ตรง   ชนิดไส้เหลือง  และชนิดไส้แดง
            กล้วยหักมุก  ลักษณะผลเป็นเหลี่ยมชัดเจน  เปลือกหนา 
            กล้วยส้ม  ลักษณะคล้ายกล้วยหัวมุก  แต่ผลเล็กกว่า
            กล้วยนิ้วมือนาง  ผลค่อนข้างใหญ่  ลักษณะอ้วนป้อม
            กล้วยหิน  มีมากทางภาคใต้  มีผลดกคล้ายกล้วยตานี
            กล้วยเปรี้ยว  มีรสค่อนข้างเปรี้ยว
            กล้วยแพ  ลักษณะใบแผ่ออกไปคล้ายพัด
            กล้วยบัว  ลักษณะหัวปลีคล้ายดอกบัว ต้นขนาดเล็ก  มักใช้เป็นไม้ประดับ

                    วงจรชีวิตของกล้วย
ช่อ ดอก หรือปลี (inflorescence)เป็นคำแทนภาพส่วนดอกของต้นไม้และ อิริยาบถขณะกำลังเจริญเติบโตของมัน กระนั้นก็ตามปลีกล้วยในทางการเกษตรไม่ได้มีความหมายเดียวกันกับช่อดอกไม้ของ คนขายดอกไม้ มันเป็นส่วนของต้นไม้ที่รวมผลของมันไว้ด้วย (ดอกไม้ เมื่อแก่จัดก็จะกลายเป็นส่วนที่กินได้ของต้นไม้)
ผม เห็นหัวปลีเต็มๆครั้งแรกก็ที่สวนกล้วยแห่งหนึ่งในเอกวาดอร์ ซึ่งปลูกกล้วยเชิงพาณิชย์มากกว่าประเทศอื่นใด (ก่อนหน้าผม เคยเห็นก็แต่ต้นกล้วยหลังเก็บเกี่ยวแล้ว) ที่นั่นอากาศร้อนเหนอะหนะ เสื้อของผมชุ่มเหงื่อ ผมคิดไว้ก่อนว่าจะเจอบางอย่างแบบคล้าย ๆ ต้นแอปเปิ้ล ที่ดูสะอาดตาได้สัดได้ส่วน ออกลูกเป็นระเบียบเรียบร้อยท่ามกลางกิ่งใบที่แผ่ออก ตรงกันข้าม ผมกลับเห็นส่วนที่งอกออกมาห้อยโตงเตง ใหญ่เกือบเท่าลูกฟุตบอล ยืดต่อมาจากก้านหนาที่โผล่ออกมาจากตรงยอดของสิ่งซึ่งเหมือนจะเป็นลำต้นของ กล้วย (เนื่องจากในทางเทคนิคแล้วกล้วยไม่ใช่ต้นไม้ มันจึงไม่มีลำต้นจริงๆ คำใช้เรียกส่วนสำคัญค้ำต้นกล้วยที่ถูกต้องคือ ลำต้นเทียม หรือ หยวก กล้วย - pseudostem)
โคน ปลีซึ่งสุดท้ายจะงอกงามเป็นเครือกล้วยที่ตัดส่งไปยังตลาดนั้น มีอวัยวะตัวเมียของกล้วยยึดติดอยู่ (ครับ ทั้งที่กล้วยเป็นสัญลักษณ์ของอวัยวะเพศชาย แต่ส่วนที่เรากินกลับเป็นเพศหญิง) เครือ กล้วยประกอบด้วย “หวี” ซึ่งเป็นส่วนที่เราซื้อกันในซุปเปอร์มาร์เก็ต แต่ละหวีแบ่งซอยเป็น “ลูกๆ”ที่เรากินกันนั่นเอง ดอกกระเทยที่เรียงซ้อนกันก็อยู่ถัดลงมาจากโคนปลีด้วยเช่นกัน แล้วก็มาถึงส่วนที่พิลึกพิลั่นที่สุดของต้นกล้วย หัวปลีหนักคล้ายหยดน้ำตาห้อยย้อยลงยังพื้นป่า น้าวส่วนบนของปลีลงมาในลักษณะเหมือนกับปลาเทราต์ติดเบ็ดไม้ไผ่ ส่วนนี้เป็นอวัยวะตัวผู้ของกล้วย ดอกตัวผู้นี้เป็นหมันเช่นเดียวกับอวัยวะตัวเมียที่อยู่เหนือมันขึ้นไป หัวปลีไม่ผลิตเกสรเหมือนอย่างต้นไม้ตัวผู้อื่นๆทำกันตามปรกติ ที่โดดเด่นที่สุดเหนืออื่นใดนอกจากความบริสุทธิ์ผุดผ่องของกล้วยก็คือสีของ หัวปลี สวนกล้วยจะปกคลุมด้วยแถบๆสีเขียวเป็นส่วนใหญ่ แต่เจ้าหัวปลียักษ์นั่นสีม่วงแก่
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/5/5a/Banana-male-flowers.jpg/312px-Banana-male-flowers.jpg
การ เปลี่ยนจากดอกกลายเป็นผลใช้เวลาราวหกเดือน เมื่อกล้วยออกลูกต้นแรกจะมีขนาดเล็กสีเขียวยาวไม่เกินครึ่งแท่งดินสอ ปลายชช้อนขึ้นด้านบนชี้ไปที่ยอดของต้นกล้วย ผลกล้วยจะจัดเรียงตัวเองให้อยู่ตำแหน่งเหมาะสำหรับรับแสงแดดมากที่สุด เครือโค้งของกล้วยยังดูแปลกตาด้วยเช่นกัน และไม่ใช่เพียงเพราะดูเหมือนมันจะโค้งงอไปตามกฏของแรงโน้มถ่วง เมื่อเราเห็นกล้วยตามสวน เรามีแนวโน้มที่จะคิดว่ามันคล้ายจะกลับหัวตีลังกามากกว่า การกลับหัวกลับหางที่ว่านี้เป็นความจริง ส่วน “ยอด” ของกล้วยที่เรากิน หรือ “จุก” ตรงที่เราเริ่มปลอกเปลือกของมันออกได้อย่างสะดวกนั้นที่จริงแล้วคือก้น และส่วนข้อเล็กๆที่ปลายสุดอีกด้านคือ ส่วนของดอกที่เหลืออยู่
ทีนี้ ถ้ากล้วยไม่มีเมล็ดและไม่มีเซ็กซ์ คุณคงอยากรู้แทบตายละสิว่าลูก ของกล้วยมาจากไหนกัน
กล้วย ก็เช่นเดียวกับต้นคริสต์มาส ลาเวนเดอร์ และ สตรอว์เบอร์รี เป็นพืชล้มลุกที่มีวงจรชีวิตหลายปี หมายความว่ามันจะเจริญเติบโต และออกดอก เป็นเท่าทวีคูณในช่วงเวลาหลายปี วงจรชีวิตของกล้วยแบ่งเป็นสองระยะที่แตกต่างกัน “ระยะวัฒนภาค” (vegetative phase) เกิดก่อน เป็นช่วงการเจริญเติบโตเพื่อตระเตรียมก่อนจะออกปลี การปรากฏตัวของปลีคือเป็นสัญญณบ่งบอกระยะที่สอง หรือ “ระยะเจริญพันธุ์” (reproductive phase) หัวใจของกล้วย ซึ่งเป็นลำต้นจริงที่ตรงข้ามกับหยวกที่ดูเหมือนลำต้นนั้น คือ เหง้า ส่วนที่รูปร่างเหมือนหลอดไฟของต้นไม้ที่อยู่ใต้ดิน สรุปแล้ว หยวกกล้วยงอกมาจากเหง้า ส่วนใบและปลีงอกจากหยวก ก็ยังเหมือนกับพืชอื่นๆ มันมีรากด้วย ระบบท่อไต้ดินนี้แผ่ไปรอบๆต้นในรัศมีไม่เกินยี่สิบฟุตเพื่อดึงน้ำและอาหารมา หล่อเลี้ยงตัวมันเองแม้จะไม่ลึกมากก็ตาม รากกล้วยยังสามารถนำศัตรูเช่นโรคตายพรายมากับมันได้ด้วย
ทั้งหมด ดำเนินไปอย่างนี้ครับ เหง้าหนึ่งจะให้กำเนิดเหง้าอื่นๆ และด้วยเหง้าหยิบมือหนึ่งก็สามารถกลายเป็นสวนกล้วยทั้งสวนได้ กระบวนการเจริญพันธุ์เกิดขึ้นได้โดยอาศัยส่วนที่เหมือนกิ่งที่เรียกว่า “หน่อ” ซึ่งก็งอกขึ้นจากเหง้าเช่นกัน หน่อนับเป็นส่วนสำคัญของการเพาะปลูกกล้วย ปรกติเหง้าหนึ่งจะให้หน่อสิบกว่าหน่อ พุ่งผ่านพื้นดินโดยรอบขึ้นมาในแนวตั้ง ในท้ายที่สุดเหง้าใหม่ก็โผล่ขึ้นเหนือพื้นดิน บางครั้งก็ห่างออกไปถึงห้าฟุตจากเหง้าแม่ บางครั้งก็เกือบจะงอกออกตรงจากตัวแม่เลย ต้นเล็กๆจะปรากฏอยู่ใต้ต้นใหญ่ที่โตเต็มที่แล้ว พวกมันเหมือนกันทั้งในแง่พันธุกรรมและรูปโฉมภายนอก และทั้งสองต้นมักถูกอ้างถึงว่าเป็นแม่กับลูกสาว ในที่สุดลูกสาวก็โตเร็วกว่าแม่ แล้ววงจรก็จะเริ่มใหม่อีกครั้ง
[437px-Flora_Sinensis_-_Banana.jpg]
กล้วย ต้นเดียวสามารถให้ผลผลิตได้สามหรือสี่ครั้งในช่วงชีวิตของมัน กล้วยหอมเขียวปรกติที่โตได้ที่จะออกลูกราวๆสิบกว่าหวี แต่ละหวีอาจมีลูกมากถึงยี่สิบลูก แม้ว่าสวนกล้วยจำนวนมากจะมีระบบชลประทานละการเก็บเกี่ยวทันสมัย แต่การเก็บเกี่ยวจริงก็ยังคงทำด้วยมือ คนงานจะตัดเครือลงมา แล้วลำเลียงมันไปยังพื้นที่ดำเนินการส่วนกลาง บางครั้งก็ด้วยการแบกขึ้นหลังไป หรือบางครั้งก็ใช้รอกชัก
ผล ของกล้วยยังคงเป็นสีเขียวตราบเท่าที่มันติดอยู่กับต้น แต่ทันทีที่ตัดลงมา มันก็จะเริ่มสุก การตัดกล้วยจะเป็นการกระตุ้นให้มันปลดปล่อยก๊าซเอธีลีน ซึ่งก็คือ ไฮโดรคาร์บอนในรูปแบบที่ไม่ซับซ้อนออกมา การปรากฏตัวของเอธีลีนนี้เท่ากับการเปิดฉากชุดของเหตุการณ์ที่บ่มกล้วยก่อน ไปจัดลงกล่องข้าวของคุณ รสฝาดเริ่มเปลี่ยนเป็นหวาน สารเพคติน(เอนไซม์ ที่ใช้ในการทำแยม) ลดลง ทำให้กล้วยนุ่มขึ้น คลอโรฟิลล์สลายตัวไป กล้วยเปลี่ยนเป็นจากสีเขียวเป็นสีเหลือง ที่สำคัญที่สุดก็คือแป้ง ซึ่งเป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่ของมวลกายของกล้วยสีเขียว ก็เริ่มกลายเป็นน้ำตาล กล้วยที่ยังคาต้นมีฟรุคโตสอยู่ราว 1 เปอร์เซ็นต์ ถึงตอนที่มันถูกตัด ขนส่ง และซื้อไป และกำลังจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอยู่บนเคาน์เตอร์ในครัวคุณนั้น สัดส่วนดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ (หลังจาก นั้น การเน่าบูดก็จะเริ่ม จุดนี้เองที่สามารถเอาไปหมักเป็นไวน์กล้วยหรือเบียร์กล้วย ซึ่งแพร่หลายในแอฟริกา เครื่องดื่มทั้งสองชนิดนี้เป็นเครื่องดื่มที่มีรสชาติประหลาด และรสชาตินั้นก็ยากจะหายประหลาด)
การ ทำสวยกล้วยอาศัยการปลูกใหม่เป็นระยะๆ กระบวนก็ง่ายๆ ด้วยการขุดหน่อพร้อมเหง้าไปฝังที่ไหนสักแห่งเท่านั้นเอง ในการเกษตรเชิงพาณิชย์จะเว้นระยะห่างที่วัดอย่างละเอียด ส่วนกล้วยตามหมู่บ้านนั้นมักจะปลูกแบบกะๆเอามากกว่า แต่ไม่ว่าในกรณีไหน แต่ละหน่อก็จะเติบโตเป็นต้นใหม่ หลังจากผ่านไปราวสองสามปี ต้นแม่ก็จะหยุดแตกหน่อ เมื่อสิ้นวงจรชีวิตของมัน เหง้าของกล้วยก็จะลอยจากดินกลายเป็นสิ่งที่ชาวสวนเรียกว่า “กล้วยปลดระวาง” รากและใบแห้งๆของมันแผกองทับกันบนพื้น (ตอนที่ผมออกกำลังจากสวนกล้วยใน ฮอนดูลัสคราวไปเยือนในปี 2000 หนึ่งในคนงานที่ผมอยู่ด้วยในตอนบ่ายชี้ ให้ผมดูแปลงของสวนที่กล้วยปลดระวาง พวกนี้เป็นกล้วยต้นใหญ่ที่สุดที่ผมเคยเห็น ก็ไม่ได้สูงถึงขนาดสามสิบฟุตซึ่งเป็นขีดจำกัดสูงสุดของต้นกล้วยหรอกครับ แต่ก็สูงกว่าผมเกือบสามเท่า “คุณคงไม่อยากไปเดินในนั้นหรอก” เขาบอกผม ให้เหตุผลว่ากล้วยในระยะปลดระวางจะยึดดินไม่แน่นนัก พวกมันพร้อมจะโค่นลงมา เหมือนแขวนอยู่บนเส้นด้ายอย่างแท้จริง “คนอาจจจะตายหรือโดนทับ” ชาวสวนกล้วยบอกกับผม “ถ้าไม่ระวังให้ดี”)
จน ถึงสิ้นวงจรชีวิตของกล้วย มันอาจจะผลิตต้นลูกสาวอีกสิบกว่าต้นที่ยังคงเติบโตงอกงามต่อไป ทายาทเหล่านั้นก็จะขยายพันธุ์ไปด้วยเช่นกัน สำหรับสิ่งมีชีวิตที่ไม่แต่งงานและมีเพศสัมพันธ์แล้ว นี่นับเป็นรุปแบบความเป็นอมตะที่ออกจะน่าคิดทีเดียว มันสามารถจะดำเนินต่อไปแทบไม่รู้จบ หรืออย่างน้อยที่สุดก็คาดว่าจะเป็นเช่นนั้น
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/4/4c/Bananas.jpg/800px-Bananas.jpg

วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554

วันปิยมหาราช

พระปิยมหาราช

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต

          พระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 คือ การประกาศเลิกทาส ทำให้ปวงชนชาวไทยได้เป็นไทมาจวบจนทุกวันนี้

          ในรัชสมัยของพระองค์ สยามประเทศได้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สร้างความวัฒนาให้กับชาติเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น การไฟฟ้า การไปรษณีย์ โทรเลข โทรศัพท์ ฯลฯ ด้วยพระราชกรณียกิจที่ยังความผาสุกให้เกิดแก่ประชาชน ทวยราษฎร์ทั้งปวงจึงน้อมใจแสดงความจงรักภักดี ด้วยการถวายพระนามว่า "พระปิยมหาราช" หรือพระพุทธเจ้าหลวง และกำหนดให้ทุกวันที่ 23 ตุลาคม เป็น วันปิยมหาราช
 ความเป็นมาของ วันปิยมหาราช
รัชกาลที่ 5

          เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453 ได้เกิดเหตุการณ์ที่สร้างความเศร้าโศกให้กับประเทศไทยครั้งใหญ่หลวง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงประชวรเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นกษัตริย์ที่เป็นที่เคารพรักของทวยราษฎร์ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอเนกประการ ทั้งในการปกครองบ้านเมือง และพระราชทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ชนทุกหมู่เหล่า

          ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทางราชการได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นวันที่ระลึกสำคัญของชาติเรียกว่า "วันปิยมหาราช" และกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ

          เจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยซึ่งต่อมาเป็น "กรุงเทพมหานคร" ร่วมด้วยกระทรวงวัง ซึ่งต่อมาเป็น "สำนักพระราชวัง" ได้จัดตกแต่งพระบรมราชานุสาวรีย์ ตั้งราชวัติฉัตร 5 ชั้น ประดับโคมไฟ ทอดเครื่องราชสักการะที่หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน

          พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วันปิยมหาราช ครั้งแรกเกิดขึ้นถัดจากปีที่ได้ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานถวายแล้วเสด็จฯ ไปถวายพวงมาลา ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะที่พระบรมราชานุสาวรีย์

 พระราชประวัติ

รัชกาลที่ 5

          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2396 เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระนางเจ้าฟ้ารำเพยภมราภิรมย์ (สมเด็จพระเทพศิรินทรา พระบรมราชินี) เมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษา ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น "กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรลังกาศ" ต่อมาเมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น "กรมขุนพินิตประชานาถ" บรมราชาภิเษกครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2411 ทรงพระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"
          เนื่องจากขณะนั้นมีพระชันษาเพียง 16 ปี ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) จึงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน และสถาปนากรมหมื่นบวรวิชัยชาญ พระโอรสองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญพระมหาอุปราช

          ระหว่างที่สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการอยู่นั้น สมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ก็ทรงใช้เวลาศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาเป็นอันมาก เช่น โบราณราชประเพณี รัฐประศาสน์ โบราณคดี ภาษาบาลี ภาษาอังกฤษ วิชาปืนไฟ วิชามวยปล้ำ วิชากระบี่กระบอง และวิชาวิศวกรรม

          ในตอนนี้ยังได้เสด็จประพาสสิงคโปร์และชวา 2 ครั้ง เสด็จประพาสอินเดีย 1 ครั้ง การเสด็จประพาสนี้มิใช่เพื่อสำราญพระราชหฤทัย แต่เพื่อทอดพระเนตรแบบแผนการปกครองที่ชาวยุโรปนำมาใช้ปกครองเมืองขึ้นของตน เพื่อจะได้นำมาแก้ไขการปกครองของไทยให้เหมาะสมแก่สมัยยิ่งขึ้น ตลอดจนการแต่งตัว การตัดผม การเข้าเฝ้าในพระราชฐานก็ใช้ยืน และนั่งตามโอกาสสมควร ไม่จำเป็นต้องหมอบคลานเหมือนแต่ก่อน

          เมื่อพระชนมายุบรรลุพระราชนิติภาวะ ได้ทรงผนวชเป็นเวลา 2 สัปดาห์ แล้วจึงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416 และนับจากนั้นมาก็ทรงพระราชอำนาจเด็ดขาดในการบริหารราชการแผ่นดิน
          ตลอดระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติ ทรงปกครองทำนุบำรุงพระราชอาณาจักรให้มั่งคั่งสมบูรณ์ ดัวยรัฐสมบัติ พิทักษ์พสกนิกรให้อยู่เย็นเป็นสุข บำบัดภัยอันตรายทั้งภายในภายนอกประเทศ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่างๆ อันก่อให้เกิดคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ ให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์ และสามารถธำรงเอกราชไว้ตราบจนทุกวันนี้

          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453 รวมพระชนมายุได้ 58 พรรษา ครองราชสมบัติมานานถึง 42 ปี

 พระราชกรณียกิจ

พระราชกรณียกิจที่สำคัญในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อาทิเช่น

 1.การเลิกทาส

เลิกทาส

          เป็นพระราชกรณียกิจอันสำคัญยิ่ง ที่ทำให้พระองค์ทรงได้รับพระสมัญญาว่า "สมเด็จพระปิยมหาราช"
ด้วยพระองค์ทรงเห็นว่า มีทาสในแผ่นดินเป็นจำนวนมาก และลูกทาสในเรือนเบี้ยจะสืบต่อการเป็นทาสไปจนรุ่นลูกรุ่นหลานอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าไม่มีเงินมาไถ่ตัวเองแล้ว ต้องเป็นทาสไปตลอดชีวิต พระองค์จึงทรงมีพระทัยแน่วแน่ว่า จะต้องเลิกทาสให้สำเร็จ แม้จะเป็นเรื่องยากลำบาก เพราะทาสมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ อีกทั้งเจ้านายที่เป็นใหญ่ในสมัยนั้นมักมีข้ารับใช้ เมื่อไม่มีทาส บุคคลเหล่านี้อาจจะไม่พอใจและก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นเหมือนกับที่เกิดขึ้นในต่างประเทศมาแล้ว

          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ จึงตราพระราชบัญญัติขึ้น เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2417 ให้มีผลย้อนหลังไปถึงปีที่พระองค์เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ มีบัญญัติว่า ลูกทาสซึ่งเกิดเมื่อปีมะโรง พ.ศ.2411 ให้มีสิทธิได้ลดค่าตัวทุกปี และพอครบอายุ 21 ปีก็ให้ขาดจากความเป็นทาสทั้งชายและหญิง จากนั้นใน พ.ศ.2448 จึงได้ออกพระราชบัญญัติเลิกทาสที่แท้จริงขึ้น เรียกว่า "พระราชบัญญัติทาส ร.ศ.124" (พ.ศ.2448) เลิกลูกทาสในเรือนเบี้ยอย่างเด็ดขาด เด็กที่เกิดจากทาส ไม่ต้องเป็นทาสอีกต่อไป และการซื้อขายทาสเป็นโทษทางอาญา ส่วนผู้ที่เป็นทาสอยู่แล้ว ให้นายเงินลดค่าตัวให้เดือนละ 4 บาท จนกว่าจะหมด

          ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่าน ในเวลาเพียง 30 ปีเศษ ทาสในเมืองไทยก็หมดไปโดยไม่เกิดการนองเลือดเหมือนกับประเทศอื่นๆ

 2.การปฏิรูประบบราชการ

          ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราระเบียบการปกครองขึ้นใหม่ แยกหน่วยราชการออกเป็นกรมกองต่างๆ มีหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะไม่ก้าวก่ายกัน จากเดิมมี 6 กระทรวง คือ กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงลาโหม, กระทรวงนครบาล, กระทรวงวัง, กระทรวงการคลัง และกระทรวงเกษตราธิการ ได้เพิ่มอีก 4 กระทรวง รวมเป็น 10 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงธรรมการ มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับกิจการของพระสงฆ์ และการศึกษา, กระทรวงยุติธรรม มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับคดีความที่ต้องตัดสินต่างๆ , กระทรวงโยธาธิการ มีหน้าที่ดูแลตรวจตราการก่อสร้าง การทำถนน ขุดลอกคูคลอง งานที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง และกระทรวงการต่างประเทศ มีหน้าที่ดูแลงานที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศ

 3.การสาธารณูปโภค
           การประปา ทรงให้กักเก็บน้ำจากแม่น้ำเชียงรากน้อย จังหวัดปทุมธานี และขุดคลองเพื่อส่งน้ำเข้ามายังสามเสน พร้อมทั้งฝังท่อเอกติดตั้งอุปกรณ์สำหรับการทำน้ำประปาขึ้นในเดือน กรกฎาคม พ.ศ.2452

           การคมนาคม วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปขุดดินก่อพระฤกษ์ เพื่อประเดิมการสร้างทางรถไฟไปนครราชสีมา แต่ทรงเปิดทางรถไฟกรุงเทพฯ-พระนครศรีอยุธยาก่อน จึงนับว่าเส้นทางรถไฟสายนี้เป็นทางรถไฟแห่งแรกของไทย

คลอง

          นอกจากนี้ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพาน และถนนอีกมากมาย คือ ถนนเยาวราช ถนนราชดำเนินกลาง ถนนราชดำเนินนอก ถนนดินสอ ถนนบูรพา ถนนอุณากรรณ เป็นต้น และโปรดให้ขุดคลองต่างๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางคมนาคม และส่งเสริมการเพาะปลูก

           การสาธารณสุขเนื่องจากการรักษาแบบยากลางบ้านไม่สามารถช่วยคนได้อย่างทันท่วงที จึงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 200 ชั่ง โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงพยาบาลวังหลัง ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงพยาบาลศิริราช" เปิดทำการรักษาประชาชนเป็นครั้งแรกเมื่อ 26 เมษายน พ.ศ.2431

           การไฟฟ้า พระองค์ทรงมอบหมายให้กรมหมื่นไวยวรนาถ เป็นแม่งานในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับประชาชนครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2433

           การไปรษณีย์ โปรดให้เริ่มจัดขึ้นในปี พ.ศ.2424 รวมอยู่ในกรมโทรเลข ซึ่งได้จัดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.2412 โดยโทรเลขสายแรกคือ ระหว่างจังหวัดพระนคร (กรุงเทพมหานคร) กับจังหวัดสมุทรปราการ

 4.การเสด็จประพาส


เสด็จประพาส

          การเสด็จประพาสเป็นพระราชกรณียกิจที่สำคัญอันหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยหลังจากเกิดกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสแล้ว ก็ได้เสด็จประพาสยุโรป 2 ครั้ง ในปี พ.ศ.2440 ครั้งหนึ่ง และในปี พ.ศ. 2450 อีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆ ในยุโรป ตลอดจนประเทศฝรั่งเศสด้วย อีกทั้งยังได้ทรงเลือกสรรเอาแบบแผนขนบธรรมเนียมอันดีในดินแดนเหล่านั้นมาปรับปรุงในประเทศให้เจริญขึ้น

          ในการเสด็จประพาสครั้งแรกนี้ ได้ทรงมีพระราชหัตถเลขาตลอดระยะทางถึงสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีพระบรมราชินีนาถ (ซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชเทวี) ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน พระราชหัตถเลขานี้ต่อมาได้รวมเป็นหนังสือเล่มชื่อ "พระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้าน" ให้ความรู้อย่างมากมายเกี่ยวแก่สถานที่ต่างๆ ที่เสด็จไป

          ส่วนภายในประเทศ ก็ทรงถือว่าการเสด็จประพาสในที่ต่างๆ เป็นการตรวจตราสารทุกข์สุขดิบของราษฎรได้เป็นอย่างดี พระองค์จึงได้ทรงปลอมแปลงพระองค์ไปกับเจ้านายและข้าราชการ โดยเสด็จฯ ทางเรือมาดแจวไปตามแม่น้ำลำคลองต่างๆ เพื่อแวะเยี่ยมเยียนตามบ้านราษฎร ซึ่งเรียกกันว่า "ประพาสต้น" ซึ่งได้เสด็จ 2 ครั้ง คือในปี พ.ศ.2447 และในปี พ.ศ.2449 อีกครั้งหนึ่ง


 5.การศึกษา

          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความสำคัญของการศึกษา จึงโปรดให้สร้างโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง คือ "โรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก" ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ" ต่อมาโปรดให้ตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรขึ้นเป็นแห่งแรก คือ "โรงเรียนวัดมหรรณพาราม" และในที่สุดได้โปรดให้จัดตั้งกระทรวงธรรมการขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2435 (ปัจจุบันคือกระทรวงศึกษาธิการ) เพื่อดูแลเรื่องการศึกษาและการศาสนา

รัชกาลที่ 5


 6.การปกป้องประเทศจากการสงครามและเสียดินแดน

          เนื่องจากลัทธิจักรวรรดินิยมได้แผ่อิทธิพลเข้ามาตั้งแต่ปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้ปรีชาสามารถอย่างสุดพระกำลังที่จะรักษาประเทศชาติให้รอดพ้นจากวิกฤติการณ์ ถึงแม้ว่าจะต้องสูญเสียดินแดนบางส่วนไปก็ตาม โดยดินแดนที่ต้องเสียให้กับต่างชาติ ได้แก่ 

           พ.ศ.2431 เสียดินแดนในแคว้นสิบสองจุไทย 
           พ.ศ.2436 เสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ให้ฝรั่งเศส และฝรั่งเศสยึดเมืองจันทบุรีไว้ 
           พ.ศ.2447 เสียดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส เพื่อแลกกับเมืองจันทบุรี แต่ฝรั่งเศสได้ยึดตราดไว้แทน 
           พ.ศ.2449 เสียดินแดนที่เมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ให้ฝรั่งเศส เพื่อแลกกับตราด และเกาะทั้งหลาย แต่การเสียดินแดนครั้งสุดท้ายนี้ไทยก็ได้ประโยชน์อยู่บ้าง คือฝรั่งเศสยอมยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ยอมให้ศาลไทยมีสิทธิที่จะชำระคดีใดๆ ที่เกิดขึ้นแก่ชาวฝรั่งเศส ไม่ต้องไปขึ้นศาลกงสุลเหมือนแต่ก่อน

          ส่วนทางด้านอังกฤษ ประเทศไทยได้เปิดการเจรจากับรัฐบาลอังกฤษ รวมถึงเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขตด้วย ใน พ.ศ.2454 อังกฤษจึงยอมตกลงให้ชาวอังกฤษ หรือคนในบังคับอังกฤษมาขึ้นศาลไทย และยอมให้ไทยกู้เงินจากอังกฤษ เพื่อนำมาใช้สร้างทางรถไฟสายใต้จากกรุงเทพฯ ถึงสิงคโปร์ เพื่อตอบแทนประโยชน์ที่อังกฤษเอื้อเฟื้อ ทางฝ่ายไทยยอมยกรัฐกลันตัน ตรังกานูและไทยบุรี ให้แก่สหรัฐมลายูของอังกฤษ

 ลำดับเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น
           พ.ศ.2411 เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ

           พ.ศ.2412 ทรงโปรดเกล้าให้สร้างวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามซึ่งเป็นวัดประจำรัชกาลของพระองค์

           พ.ศ.2413 เสด็จประพาสสิงคโปร์และชวา, โปรดฯ ให้ยกเลิกการไว้ผมทรงมหาดไทย

           พ.ศ.2415 ทรงปรับปรุงการทหารครั้งใหญ่, โปรดให้ใช้เสื้อราชปะแตน, โปรดให้สร้างโรงเรียนหลวงสอนภาษาอังกฤษแห่งแรกขึ้นในพระบรมหาราชวัง

           พ.ศ.2416 ทรงออกผนวชตามโบราณราชประเพณี, โปรดให้เลิกประเพณีหมอบคลานในเวลาเข้าเฝ้า

           พ.ศ.2417 โปรดให้สร้างสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน, ตั้งโรงเรียนกุลสตรีวังหลัง (ปัจจุบันคือ โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย) และให้ใช้อัฐกระดาษแทนเหรียญทองแดง

           พ.ศ.2424 เริ่มทดลองใช้โทรศัพท์ครั้งแรก เป็นสายระหว่างกรุงเทพฯ–สมุทรปราการ, สมโภชพระนครครบ 100 ปี มีการฉลอง 7 คืน 7 วัน

           พ.ศ.2426 โปรดให้ตั้งกรมไปรษณีย์ เริ่มบริการไปรษณีย์ในพระนคร, ตั้งกรมโทรเลข และเกิดสงครามปราบฮ่อครั้งที่ 2

           พ.ศ.2427 โปรดฯ ให้ตั้งโรงเรียนราษฎร์ทั่วไปตามวัด โรงเรียนแห่งแรกคือ โรงเรียนวัดมหรรณพาราม

           พ.ศ.2429 โปรดฯ ให้เลิกตำแหน่งมหาอุปราช ทรงประกาศตั้งตำแหน่งมกุฏราชกุมารขึ้นแทน

           พ.ศ.2431 เสียดินแดนแคว้นสิบสองจุไทให้แก่ฝรั่งเศส, เริ่มการทดลองปกครองส่วนกลางใหม่, เปิดโรงพยาบาลศิริราช, โปรดฯให้เลิกรัตนโกสินทร์ศก โดยใช้พุทธศักราชแทน

           พ.ศ.2434 ตั้งกระทรวงยุติธรรม, ตั้งกรมรถไฟ เริ่มก่อสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพ-นครราชสีมา

           พ.ศ.2436 ทรงเปิดเดินรถไฟสายเอกชน ระหว่างกรุงเทพฯ-ปากน้ำ, กำเนิดสภาอุนาโลมแดง (สภากาชาดไทย)

           พ.ศ.2440 ทรงเสด็จประพาสยุโรปเป็นครั้งแรก

           พ.ศ.2445 เสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส

           พ.ศ.2448 ตราพระราชบัญญัติยกเลิกการมีทาสโดยสิ้นเชิง

           พ.ศ.2451 เปิดพระบรมรูปทรงม้า

           พ.ศ.2453 เสด็จสวรรคต

 พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบรมรูปทรงม้า

พระบรมรูปทรงม้า

          ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมวงศานุวงศ์ข้าราชการ พ่อค้า คหบดี ปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าผู้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ได้ร่วมใจกันรวบรวมเงินจัดสร้างอนุสาวรีย์ถวายเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช ผู้ทรงสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม และเนื่องในมหามงคลสมัยที่ทรงครองราชย์นานถึง 40 ปี
          พระบรมรูปทรงม้านี้ หล่อด้วยโลหะชนิดทองบรอนซ์ พระองค์ใหญ่กว่าขนาดจริงเล็กน้อย ประดิษฐานบนแท่นหินอ่อนอันเป็นแท่นรองสูงประมาณ 6 เมตร กว้าง 2 เมตรครึ่ง ยาว 5 เมตร ห่างจากฐานของแท่นออกมามีรั้วเตี้ยๆ ลักษณะเป็นสายโซ่ขึงระหว่างเสาล้อมรอบกว้าง 9 เมตร ยาว 11 เมตร ที่แท่นด้านหน้ามีคำจารึกบนแผ่นโลหะติดประดับสรรญเสริญว่า "คำจารึกฐานองค์พระบรมรูปทรงม้า ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนากาลล่วงแล้ว 2451พรรษา จำเดิมแต่พระมหาจักรีบรมราชวงศ์ ได้ประดิษฐาน แลดำรงกรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทราอยุธยาเป็นปีที่ 127 โดยนิยม"

          สำหรับแบบรูปของพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ ได้จ้างช่างหล่อชาวฝรั่งเศส แห่งบริษัทซูซ เซอร์เฟรส ฟองเดอร์เป็นผู้หล่อ ณ กรุงปารีส เลียนแบบพระบรมรูปทรงม้าของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่ประดิษฐานอยู่หน้าพระราชวังแวร์ซายส์ ในประเทศฝรั่งเศส เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2450 พระองค์ได้เสด็จประทับให้ช่างปั้นพระบรมรูป เมื่อวันที่ 22 สิงหคม ศกนั้น พระบรมรูปเสร็จเรียบร้อย และส่งเข้ามายังกรุงรัตนโกสินทร์ในทางเรือ

          เมื่อ พ.ศ.2451 โปรดให้ประดิษฐานไว้ ณ พระลานหน้าพระราชวังดุสิต ระหว่างพระราชวังสวนอัมพรกับบสนามเสือป่า ทางทิศตะวันออกของพระที่นั่งอนันตสมาคม ทรงประกอบพระราชพิธีเปิดพระบรมรูปนี้ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2451 ตรงกับวันพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษกครองราชสมบัติได้ 40 ปี
          เจ้าพนักงานได้อัญเชิญพระบรมรูปทรงม้า ขึ้นประดิษฐานบนแท่นรองที่หน้าพระลานพระราชวังดุสิต ที่ประจักษ์อยู่ในปัจจุบันนี้ โดยพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงอ่านคำถวายพระพรชัยมงคล เสร็จแล้วจึงน้อมเกล้าฯ ถวายพระบรมรูปทรงม้า กราบบังคมทูลอัญเชิญให้พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช พระราชบิดาให้ทรงเปิดผ้าคลุมพระบรมราชานุสาวรีย์เป็นปฐมฤกษ์ เพื่อประกาศเกียรติคุณในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ให้สถิตสถาพรปรากฏสืบไปชั่วกาลนาน

 กิจกรรมใน วันปิยมหาราช

วันปิยมหาราช

          ในวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี หน่วยงานต่างๆ ทั้งราชการและภาคเอกชน นักเรียน-นิสิตนักศึกษา รวมทั้งประชาชนจะมาวางพวงมาลาดอกไม้สักการะ และถวายบังคมที่พระบรมรูปทรงม้า เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทำบุญตักบาตอุทิศเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ในหน่วยงาน และโรงเรียน มหาวิทยาลัย จะจัดนิทรรศการเผยแพร่พระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันเป็นการประกาศเกียรติคุณให้ไพศาลสืบไป
รัชกาลที่ 5